วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

น้ำ     คือตัวการสำคัญที่ทำให้คนเราเจ็บป่วย แต่ละคนดื่มกินน้ำที่แตกต่างกันไปมีทั้งน้ำธรรมดา น้ำเย็น น้ำร้อน น้ำชา อัดลม น้ำผลไม้ น้ำนม ผลที่ได้จากการดื่มน้ำนั้นก็จะแตกต่างกันออกไป อีกทั้งจำนวนมาก น้อย จังหวะเวลาในการดื่มน้ำก็ไม่เหมือนซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการโรคต่างๆได้ มีเคล็ดลับดีๆ ในการดื่มน้ำแบบง่ายๆ ที่ทุกท่านสามารถทำได้ด้วยตัวเอง





น้ำดื่มเพื่อสุขภาพ 


ขั้นตอนที่ 1. ดื่มน้ำให้เพียงพอกับน้ำหนักตัว
ร่างกายคนเรานั้นประกอบด้วยน้ำ 6070 % เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวเรา ตามสูตรที่องค์การอนามัยโลกได้กำหนดเอาไว้คนเราในแต่ละวันต้องดื่มน้ำให้ได้ปริมาณที่เหมาะสมกับน้ำหนักของตัวเอง ดังวิธีคำนวณข้างล่าง
 น้ำหนัก   ปริมาณน้ำที่ต้องการ            จำนวนแก้ว
50
60
70
80
90             1,650 CC/1.6  ลิตร
1,980 CC/1.9  ลิตร
2,310 CC/2.3  ลิตร
2,640 CC/2.6  ลิตร
2,970 CC/2.9  ลิตร               8
10
11.5
13
14.5
       ถามว่า ทำไมต้องดื่มน้ำให้ได้ขนาดนั้น
ก็เพื่อความสมดุลของน้ำในร่างกาย เพราะร่างกายคนเราประกอบด้วยน้ำถึง 2 ใน 3 ส่วนถ้าร่างกายขาดน้ำ ธาตุไฟก็จะโหมกระหน่ำ ธาตุลมกำเริบ ธาตุดินก็แห้งแตกระแหง หรือจะดูกันง่ายๆ เลือดเรานั้นต้องประกอบด้วยน้ำกว่า 60% ถ้าขาดน้ำเลือดก็จะข้นหนืด ทำให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงร่างกายลำบาก หัวใจก็จะทำงานหนักในการสูบฉีดเลือด เส้นเลือดบางเส้นมีขนาดเล็กมากจนต้องใช้กล้องขยายส่องดูจึงจะมองเห็นท่านลองคิดดูว่าเลือดที่มันข้นหนืดจะเข้าไปในเส้นเลือดเล็กๆเหล่านั้นได้อย่างไร
      สุดท้ายก็ทำให้เส้นเลือดอุดตัน สมองขาดเลือด เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตไป ดังนั้น เราหันมาดื่มน้ำให้พอเพียงกับร่างกายต้องการกันดีกว่า

 ขั้นตอนที่ 2. ดื่มน้ำตอนเช้าหลังตื่นนอน
ตื่นเช้าขึ้นมาขอแนะนำว่าอย่างแรกที่ทุกท่านควรทำก่อนอย่างอื่นเลยก็คือ ดื่มน้ำให้ได้ 25 แก้ว ดื่มน้ำอุ่นๆยิ่งดี เพราะน้ำอุ่นนั้นดื่มง่ายกว่าน้ำธรรมดา และอุณหภูมิของน้ำที่ดื่มไม่ต่ำกว่าอุณหภูมิของร่างกายไม่เป็นการไปดึงอุณหภูมิร่างกายให้เย็นลง
       ทำไมต้องดื่มน้ำก่อนแปรงฟัน บางท่านแปรงฟันเสร็จแล้วก็จะไปทำธุระอะไรต่อมิอะไรเยอะแยะ อ่านหนังสือพิมพ์ ทานกาแฟ หรือทานข้าวเสร็จแล้วออกจากบ้านไปเลย จนลืมดื่มน้ำไป สาเหตุที่ให้ดื่มน้ำก่อนแปรงฟันก็เพื่อป้องกันไม่ให้ท่านหลงลืมการดื่มน้ำ หรือถ้าท่านใดรู้สึกรังเกียจขี้ฟันของตัวเองก็ดื่มหลังจากแปรงฟันเสร็จแล้ว ก็ได้ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด แต่อย่าลืมดื่ม

 ขั้นตอนที่ 3. หลีกเลี่ยงน้ำเย็น น้ำอัดลม และนม
อุณหภูมิโดยปกติของร่างกายคนเรานั้นอยู่ที่ 36-37 องศาเซลเซียส ถ้าเราดื่มน้ำเย็นๆสัก 2 องศาเซลเซียส น้ำเย็นจะต้องไปดึงความร้อนของร่างกายมาทำให้อุณหภูมิของน้ำเท่ากับร่างกาย การดูดซึมจะทำงานได้ ทำให้ร่างกายสูญเสียพลังงานและเสียเวลาในการปรับสมดุลให้คืนสู่ปกติ บางท่านเอาน้ำชาใส่กระติกน้ำแข็งแช่เย็นแล้วก็ดื่มทั้งวัน เวลาดื่มก็ชื่นใจดี แต่ท่านเชื่อหรือไม่ว่าท่านยิ่งดื่มมากเท่าไหร่ ท่านก็ยิ่งร้อนมากขึ้นเท่านั้น เพราะชามีฤทธิ์เย็น แม้ท่านจะดื่มแบบร้อนก็ตาม เมื่อชาเข้าไปอยู่ในร่างกายแล้ว ความร้อนของน้ำจะหายไป เหลือแค่ฤทธิ์ของชาซึ่งเย็น และไม่ต้องพูดถึงว่าเมื่อเราดื่มน้ำชาแช่เย็นแล้วตัวเราจะเย็นมากขึ้นเพียงใด เหมือนร่างกายเราถูกแช่เย็น แถมยังเกิดลมเกิดแก๊สขึ้นมาอีกต่างหาก
      ส่วนน้ำอัดลมนั้น ท่านดื่มแล้วรู้สึกเย็นซ่า ชื่นใจ จนบางคนติด ไม่ดื่มไม่ได้ จะดื่มทีก็ต้องดื่มแบบเย็นจัด ลองคิดดูว่าท่านได้อะไรจากน้ำอัดลมบ้าง นอกจากความเย็น น้ำตาล สารแต่งสี สารแต่งกลิ่น มีแต่สิ่งไม่มีประโยชน์ทั้งนั้นเลย
     ส่วนนม ที่หลายท่านพยายามสอนให้ลูกให้หลานดื่มกันด้วยความเชื่อว่านมนั้นมีประโยชน์เหลือหลาย ว่าจะทำให้ตัวโตแข็งแรงแคลเซียมช่วยบำรุงกระดูก ชาวเอเชียเมื่อหย่านมแล้วร่างกายจะไม่ย่อยน้ำตาลแลกโตสในนม และสารเคซินในนมจะเหนียวจับตัวเป็นลิ่มเป็นก้อน ทำให้กระเพาะอาหารทำการย่อยสารเหล่านี้ลำบาก และยิ่งนิยมดื่มนมที่มีรสหวาน ดื่มนมแช่เย็นกันอีก ความหวานและความเย็นจากนมที่ท่านชอบดื่มกันก็สามารถสร้างปัญหาให้ร่างกายท่านได้ไม่ต่างอะไรจากน้ำอัดลม เช่นเดียวกัน

 ขั้นตอนที่ 4. ดื่มน้ำให้ถูกเวลา
     -15 นาทีก่อนทานอาหาร
      - ระหว่างทานอาหาร
      - รับประทานอาหาร
 ทั้ง 3 กรณีที่ยกมานี้เป็นช่วงเวลาที่คนเรามักดื่มน้ำ การดื่มน้ำในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เป็นการดื่มน้ำที่ผิดเวลาอย่างมาก และเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการเจ็บไข้ได้ป่วยได้
 ถ้าท่านดื่มน้ำก่อนทานอาหาร น้ำที่ท่านดื่มเข้าไปมันก็ไปเจือจางน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร และพอท่านทานอาหารตามเข้าไป น้ำย่อยที่เข้มข้นสำหรับย่อยอาหารตามเข้าไป น้ำย่อยที่เข้มข้นสำหรับย่อยอาหารมันกลับเจือจางเสียแล้ว ทำให้การย่อยอาหารไม่ดี อาหารไม่ย่อยและเกิดการหมักหมมในกระเพาะอาหาร พอเกิดการหมักหมมในกระเพาะอาหารเมื่อไหร่ก็เกิดพิษในร่างกายขึ้นมาเมื่อนั้น พิษที่เกิดขึ้นมาก็เป็นสาเหตุอาการเจ็บป่วยทั้งหลาย เช่นเดียวกับการที่ท่านดื่มน้ำระหว่างทานอาหารหรือดื่มน้ำหลังรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ จะทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดี

  แก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยวิธีนี้

ระหว่างทานอาหารควรดื่มน้ำแต่น้อยอย่างมากไม่เกิน 1 แก้ว เพื่อให้น้ำย่อยมีประสิทธิภาพในการย่อยอาหารได้เต็มที่
 หลังทานอาหารเสร็จแล้ว 40 นาที ค่อยดื่มน้ำตามปกติ เพื่อให้กระเพาะได้ทำการย่อยอาหารเสียก่อน
 และที่สำคัญไม่ควรดื่มน้ำเย็น ในการย่อยอาหารนั้นกระเพาะต้องใช้ไฟฟ้าในการย่อยอาหาร ถ้าท่านดื่มน้ำเย็นเข้าไป ความเย็นจะเข้าไปดับไฟในกระเพาะ และเป็นสาเหตุให้อาหารไม่ย่อย เกิดอาการท้องอืด ท้องพองผะอืมผะอม อาเจียน ร้อนในอกในใจ บวมตามมือตามเท้า
 นั้นก็เป็น 4 ขั้นตอนในการดื่มน้ำอย่างถูกวิธี แล้วก็จะทำให้ชีวีเป็นสุข...!

 การดื่มน้ำเพื่อสุขภาพ





 ประโยชน์สุขจากการดื่มน้ำอย่างเพียงพอ
     ดื่มน้ำเพื่อสุขภาพร่างกายของคนเรามีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่ถึง 75% ของน้ำหนักตัว เราอาจจะอดอาหารได้เป็นเดือน ๆ แต่ร่างกายไม่สามารถขาดน้ำได้เกินกว่า 3 -7 วัน การดื่มน้ำอย่างถูกต้อง จะช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตดี หัวใจทำงานปกติ และมีประสิทธิภาพแข็งแรงขึ้น ขณะเดียวกันการขับถ่ายของเสียก็ทำงานได้ดี ที่สำคัญยังช่วยให้ใบหน้าชุ่มชื่น มีเลือดฝาด และไม่ปวดหลังหรือบั้นเอว เพราะสุขภาพไตแข็งแรง การดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว จะช่วยทำให้ปริมาณไขมันในร่างกายลดลง อาจเป็นเรื่องเหลือเชื่อที่น้ำจะเป็นสิ่งสำคัญที่มีส่วนช่วยในการดูแลรูปลักษณ์ แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะต้องดื่มน้ำเพราะความจำเป็น แต่ในความเป็นจริงน้ำเป็น "อาหารอันวิเศษ " ที่ช่วยในการดูแลรูปลักษณ์อย่างถาวร
   น้ำที่ควรดื่ม
ควรเป็นน้ำธรรมดาไม่เป็นน้ำที่ร้อนมากหรือที่เย็นจัด แต่ถ้าเป็นน้ำอุ่นๆ เล็กน้อย ก็ควรดื่มในตอนเช้าเพราะจะให้การขับถ่ายดีขึ้น ลำไส้สะอาด
 ระยะเวลาที่ดื่มน้ำ ใน 1 วัน อาจจะเปลี่ยนแปลงให้เหมาะกับตัวเอง
 ตื่นนอนตอนเช้า ดื่มน้ำ 1 แก้ว
ตอนสาย ดื่มน้ำ 2 แก้ว (เวลาประมาณ 9.0010.00 น)
ตอนบ่าย ดื่มน้ำ 3 แก้ว (เวลาประมาณ 13.0016.00 น)
ตอนเย็น ดื่มน้ำ 3 แก้ว (เวลาประมาร 19.0020.00 น)
ก่อนเข้านอน ดื่มน้ำ 1 แก้ว เพื่อให้น้ำที่ดื่มไหลเวียนชะล้างสิ่งตกค้างในลำไส้และกระเพาะอาหาร ถ้าเป็นน้ำอุ่นจะช่วยให้หลับสบายดีขึ้น รวมแล้วให้สามารถดื่มน้ำเปล่าได้วันละ 10 แก้ว นอกเหนือจากนั้น ท่านสามารถดื่มน้ำนม น้ำผลไม้, ฯลฯ ได้อีกไม่จำกัด

เคล็ดลับการดื่มน้ำแบบง่ายๆที่ท่านสามารถทำได้ด้วยตัวเอง ตามขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1. ดื่มน้ำให้เพียงพอกับน้ำหนักตัว
ร่างกายคนเรานั้นต้องประกอบด้วยน้ำ 60-70% เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวเรา ตามสูตรที่องค์การอนามัยโลกได้กำหนดเอาไว้ คนเราในแต่ละวันต้องดื่มน้ำให้ได้ปริมาณที่เหมาะสมกับน้ำหนักของตัวเอง วิธีคำนวณก็คือ
 เท่ากับว่าถ้าท่านหนัก 60 กิโลกรัม ต้องดื่มน้ำให้ให้ประมาณ 1.9 ลิตรต่อวัน หรือ เกือบ 10 แก้วนั่นเอง

 ขั้นตอนที่ 2. ดื่มน้ำตอนเช้าหลังตื่นนอน
ตื่นนอนตอนเช้า ก่อนแปรงฟัน ให้ดื่มน้ำ 4 แก้ว ( 640 ซีซี )ดื่มน้ำอุ่นๆได้ยิ่งดี เพราะน้ำอุ่นนั้นดื่มง่ายกว่าน้ำธรรมดา และอุณหภูมิของน้ำที่ดื่มไม่ต่ำกว่าอุณหภูมิของร่างกาย ไม่เป็นการไปดึงอุณหภูมิของร่างกายให้เย็นลง เพราะน้ำลายบูดที่สะสมมาตั้งแต่ขณะนอนหลับ มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ สามารถฆ่าจุลินทรีย์พิษในทางเดินอาหาร และช่วยในการขับถ่ายให้เป็นปกติ

 ขั้นตอนที่ 3.ดื่มน้ำให้ถูกเวลา
ควรดื่มน้ำก่อนรับประทานอาหาร 45 นาที หลังจากนั้นจึงรับประทานอาหารได้ตามปกติ เมื่อรับประทานอาหารแล้วไม่ควรดื่มน้ำหรือรับประทานอะไร จนกว่า 2 ชั่วโมงผ่านไป เพราะการดื่มน้ำมากระหว่างรับประทานอาหารจะทำให้น้ำย่อยในกระเพาะเจือจางการย่อยเป็นไปได้ไม่ดี

ขั้นตอนที่ 4.ดื่มน้ำระหว่างวัน
10.00น. 14.00น. 16.00น.
 ขั้นตอนที่ 5.ดื่มน้ำก่อนนอน
ดื่มน้ำอุ่นๆ 1 แก้ว

ขั้นตอนที่ 6.หลีกเลี่ยงน้ำเย็น น้ำอัดลม
อุณหภูมิโดยปกติของร่างกายคนเรานั้นอยู่ที่ 36-37 องศาเซลเซียส ถ้าเราดื่มน้ำเย็นๆ สัก 2 องศาเซลเซียส น้ำเย็นจะต้องไปดึงความร้อนของร่างกายมาทำให้อุณหภูมิของน้ำเท่ากับร่างกาย การดูดซึมจึงจะทำงานได้ ทำให้ร่างกายสูญเสียพลังงานและเสียเวลาในการปรับสมดุลให้คืนสู่ปกติ

ข้อควรจำ

• ไม่จำเป็นต้องดื่มครั้งละ 23 แก้วติดต่อกันทันที ดื่มตามปรกติสบายๆ ผู้ที่ทำตามครั้งแรก ๆ อาจรู้สึกคลื่นไส้เล็กน้อย เป็นอาการปรกติธรรมดา ทั้งนี้เพราะผนังลำไส้ และกระเพาะอาหารขยายตัวขึ้น หากทำติดต่อกันเป็นประจำก็จะไม่มีอาการอีก

ระยะแรก จะเกิดการปัสสาวะบ่อย ครั้งแรกๆ จะมีสีเหลืองข้นขุ่นกลิ่นฉุน เนื่องจากน้ำที่ดื่มไปชะล้างไตให้สะอาด

อย่าดื่มน้ำมากก่อนหน้าที่จะรับประทานอาหาร ( ควรงดดื่มน้ำมากสักครึ่งชั่วโมงก่อนรับประทานอาหาร) และหลังจากรับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆ ก็ไม่ควรดื่มน้ำมากๆ ทันที ในระหว่างการรับประทานอาหารไม่ควรดื่มน้ำตลอดเวลา เพราะการดื่มน้ำมากในระหว่างรับประทานอาหารจะทำให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารเจือจาง การย่อยเป็นไปได้ไม่ดี

การทานอาหารในแต่ละมื้อไม่ควร อิ่มจนแน่นท้องเกินไปควรให้อิ่มพอดีแล้วรับประทานผลไม้สดจะทำให้สะอาดคอ แล้วจิบน้ำตามนิดหน่อยท่านจะรู้สึกสบายท้องหลังจากนั้นสักครึ่งชั่วโมง จึงดื่มน้ำตามปรกติ

      การดื่มน้ำนั้นความจริงแล้วมีวิธีการดื่มให้ถูกหลักด้วย การดื่มน้ำให้ถูกหลักก็เพื่อให้ร่างกายสามารถนำน้ำที่ดื่มเข้าไปใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด โดยน้ำที่ดื่มควรจะเป็นน้ำเปล่าธรรมดา ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป ถ้าหากเป็นน้ำอุ่นและดื่มในตอนเช้าจะทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น เพราะทำให้ลำไส้ของเราสะอาดนั่นเอง 
     
             แล้วเราควรจะดื่มน้ำเวลาไหนกันบ้าง ?
 ตื่นนอนตอนเช้า 1 แก้ว (400 ซี.ซี.) เพราะเป็นช่วงที่มีความเข้มข้นของเลือดสูง เลือดจะมีลักษณะขาดน้ำ
   ตอนสาย 2 แก้ว (เวลาประมาณ 9.0010.00 น.) ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีของเสียเกิดขึ้น เพราะร่างกายได้ทำงานไปแล้วระยะหนึ่ง ดังนั้นจึงควรดื่มน้ำเพื่อชำระของเสียเหล่านั้นออกไป
         ตอนบ่าย 3 แก้ว (เวลาประมาณ 13.0014.00 น.)
         ตอนเย็น 3 แก้ว (เวลาประมาณ 19.0020.00 น.)
         ก่อนนอนให้ดื่มน้ำอีก 1 แก้ว เพื่อให้น้ำที่ดื่มไหลเวียนชะล้างสิ่งตกค้างในลำไส้และกระเพาะอาหาร ยิ่งถ้าเป็นน้ำอุ่นด้วยแล้วจะยิ่งช่วยให้หลับสบายยิ่งขึ้น
  ถึงแม้ว่าจะมีประโยชน์แต่ก็มีข้อที่ไม่ควรปฏิบัติในการดื่มน้ำเหมือนกันนะ
  ไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำ 2-3 แก้วติดต่อกันทันที ให้ดื่มตามปกติ ถ้าดื่มเข้าไปรวดเดียว ร่างกายก็จะขับออกมาทางปัสสาวะในทันที แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นการจิบน้ำไปเรื่อยๆ ร่างกายจะได้นำไปใช้ประโยชน์ในส่วนต่างๆได้ดีกว่า
         เมื่อดื่มน้ำไปสักครู่หนึ่ง จะปัสสาวะบ่อย ในครั้งแรกๆจะมีสีเหลืองขุ่นๆ เนื่องจากน้ำที่ดื่มไปนั้นจะเข้าไปชำระล้างไตให้สะอาด (ไตเปรียบเหมือนเครื่องกรองน้ำของร่างกาย)
         ไม่ควรดื่มน้ำในปริมาณมากเกินไป ทั้งก่อนที่จะรับประทานอาหารและหลังรับประทานอาหาร
         ควรเลิกนิสัยที่รับประทานอาหารพร้อมกับการดื่มน้ำ เพราะจะทำให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารเจือจาง ส่งผลให้การย่อยไม่ดี
           ไม่ควรรับประทานอาหารในแต่ละมื้อจนอิ่มแน่นท้องเกินไป ควรให้อิ่มพอดีแล้วรับประทานผลไม้สดตาม จะทำให้สะอาดคอ แล้วจิบน้ำตามนิดหน่อยก็จะรู้สึกสบายท้อง แล้วหลังจากนั้นครึ่งชั่วโมงค่อยดื่มน้ำตามปกติ
ในช่วงแรกของการเริ่มต้นดื่มน้ำให้ถูกวิธี ร่างกายเราอาจจะยังไม่ชินบ้าง แต่ถ้าหากเราสามารถดื่มน้ำให้ถูกหลักเช่นนี้เป็นประจำแล้ว จะทำให้มีสุขภาพอนามัยดี ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่าอยู่เสมอ สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มที่เพราะร่างกายเรามีสมดุลที่ดีนั่นเอง
            "ร่างกายของมนุษย์เรา มีน้ำเป็นส่วนประกอบถึง 70%"…จากข้อความนี้ น่าจะทำให้เห็นความสำคัญของน้ำเพิ่มมากขึ้นนะคะ เนื่องจากส่วนต่างๆ ของร่างกายมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ทุกหนแห่ง น้ำในร่างกายแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ น้ำที่ประกอบอยู่ในเซลล์ประมาณ 60% มีอยู่นอกเซลล์ประมาณ 30% และที่อยู่ในเนื้อเยื่อ หรือเลือดอีก 10% เหตุนี้จึงทำให้มนุษย์ต้องการน้ำ ประมาณ 2–3 ลิตรต่อวัน ในทางกลับกัน แต่ละวันร่างกายก็มีการขับน้ำออกในลักษณะของปัสสาวะ 0.5-2.3 ลิตร นอกจากนั้นยังมีการขับน้ำออกทางเหงื่อ อุจจาระ และลมหายใจ
     หน้าที่ของน้ำในร่างกายนั้นมีมากมาย ทั้งช่วยย่อยอาหาร ละลายสารอาหารและออกซิเจนเพื่อขนส่งให้เซลล์ทั่วร่างกาย ช่วยให้หัวใจทำงานปกติ เลือดไหลเวียนดี ละลายสารพิษเพื่อขับออกจากร่างกาย ทำให้ข้อกระดูกเคลื่อนไหวได้สะดวก ทำให้ผิวพรรณสดใสไม่แห้งกร้าน ใบหน้าชุ่มชื้นดูมีเลือดฝาด เมื่อน้ำสำคัญมากขนาดนี้ จะดื่มน้ำกันอย่างไรให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายเรามากที่สุด?
     น้ำที่ดื่มต้องสะอาด : เรื่องนี้สำคัญมากนะคะ หากเราดื่มน้ำที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน อาจส่งผลต่อร่างกาย เช่น น้ำที่มีเชื้อจุลินทรีย์ปะปนในปริมาณมาก อาจทำให้อุจจาระร่วง ป่วยโรคบิดและไทฟอยด์ หากน้ำดื่มมีสารเคมี โลหะหนัก เช่น คลอไรด์, ไนเตรท, แมงกานีส, สังกะสี, ตะกั่ว ก็ยังส่งผลเสียต่อตับ ตับอ่อน ไต กระเพาะปัสสาวะ เพิ่มความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็ง
     ดื่มน้ำให้เพียงพอและถูกต้อง : โดยปกติเราควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว หรือ 2-3 ลิตร ควรดื่มน้ำทันทีหลังจากตื่นนอน  โดยตอนเช้าควรดื่มน้ำอุ่นทันที 2 แก้ว เพื่อช่วยให้ขับถ่ายอุจจาระได้ดี ดื่มน้ำทุกครั้งที่รู้สึกกระหาย ไม่ควรดื่มน้ำเกินครึ่งแก้วก่อนรับประทานอาหาร 15 นาที และภายใน 40 นาทีหลังมื้ออาหาร เนื่องจากทำให้น้ำย่อยเจือจางลง ส่งผลต่อระบบการย่อยอาหาร   ทั้งนี้การดื่มน้ำก็ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวในขณะนั้นด้วย เช่น อากาศที่ร้อน และแห้ง ร่างกายจะสูญเสียน้ำทางผิวหนังและลมหายใจมากกว่าปกติ ดังนั้น ผู้ที่อยู่กลางแจ้งและในห้องปรับอากาศที่เย็นจัดจะต้องการน้ำมากกว่าคนที่อยู่ในที่ร่มหรือในห้องที่อุ่นสบาย หรือผู้ที่ออกกำลังกาย มีไข้ ท้องเสีย อาเจียนก็ควรดื่มน้ำเพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำด้วย ทั้งนี้ ควรดื่มน้ำทีละนิด แบบจิบทีละ 2–3 อึก จิบบ่อยๆ ไปตลอดทั้งวัน ซึ่งจะดีกว่าการดื่มน้ำครั้งละมากๆ เพราะเป็นการเพิ่มภาระให้กับระบบขับถ่าย อย่าง ไต ปอด ม้าม และระบบย่อยอาหาร อีกทั้งร่างกายจะดูดซึมไม่ทัน และขับออกมาเป็นปัสสาวะ แม้ดื่มน้ำเข้าไปมากก็ยังรู้สึกหิวน้ำอยู่บ่อยๆ
      การดื่มน้ำอย่างเพียงพอจะช่วยให้ไตทำงานได้ดี ซึ่งหลายคนอาจคิดไม่ถึงว่า ไต ต้องทำหน้าที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกำจัดสารพิษต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งเกิดจากกระบวนการทำงานภายในเซลล์, ดูดสารอาหารที่มีประโยชน์กลับคืนเข้าสู่ร่างกาย, ควบคุมระดับความเป็นกรด ด่าง ของของเหลวในร่างกาย, กำจัดของเสียส่วนเกินแล้วขับออกทางปัสสาวะ, สร้างฮอร์โมนที่เป็นตัวกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงและวิตามินดี..ถ้าร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอ ไตก็ไม่สามารถทำหน้าที่ดังที่กล่าวได้ดี เช่นเดียวกับ ตับ ต้องทำงานหนักขึ้น เผาผลาญไขมันได้น้อยลง ทำให้ร่างกายมีการสะสมไขมันมากขึ้นอีกด้วย
    หากปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำหรือได้รับน้ำไม่เพียงพอ ร่างกายต้องดึงน้ำจากส่วนต่างๆ มาใช้โดยที่เราไม่รู้ตัว ส่งผลให้เลือดข้น ระบบไหลเวียนของเหลวผิดปกติ ผิวหยาบ ปวดศีรษะ เป็นตะคริว ความดันสูง
    อย่างไรก็ตาม มีข้อควรระวังในการดื่มน้ำอยู่บ้าง เช่น ผู้ป่วยโรคไต ที่มีอาการบวมน้ำ ต้องควบคุมปริมาณน้ำดื่มในแต่ละวันตามแพทย์กำหนด เพราะไตของผู้ป่วยไม่สามารถขับน้ำออกจากร่างกายได้ตามปกติ น้ำปริมาณมากจึงคั่งอยู่ภายใน ส่งผลให้แขนขาบวม ความดันโลหิตสูง
 ไม่ควรดื่มน้ำเย็นจัด : เพราะอวัยวะภายในร่างกายต้องปรับอุณหภูมิของน้ำที่เย็นจัดให้เท่ากับอุณหภูมิของร่างกายก่อนนำไปใช้งาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบย่อยอาหาร เป็นผลให้ร่างกายอ่อนแอ ทางที่ดีควรดื่มน้ำอุ่นเป็นประจำเพื่อช่วยขับเหงื่อ
 ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีรสจัดเกินไป : เพราะจะทำให้รู้สึกกระหายมากกว่าปกติ การดื่มน้ำมากเกินไปจะทำให้ร่างกายทำงานหนักและทรุดโทรมก่อนวัย
 ทราบกันอย่างนี้แล้วก็ปรับวิธีการดื่มน้ำให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อร่างกายเรากันนะคะ เพื่อสุขภาพของเราเอง และคนที่เรารัก อย่าลืมประโยคสำคัญที่ว่า You are what you eat กันล่ะ.





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น